ความดันโลหิตต่ำ เป็นภัยต่อสุขภาพที่ใครหลายๆ คนอาจมองข้าม ซึ่งผู้ที่มีความดันโลหิตต่ำ มักจะคิดว่าไม่มีปัญหาใด แต่ในความจริงแล้วทั้งความดันโลหิตสูงและความดันโลหิตต่ำ ต่างมีความเสี่ยงต่อโรคแทรกซ้อน

ภาวะความดันโลหิตต่ำ มักไม่มีสัญญาณเตือน และสามารถเกิดขึ้นได้ในทุกเพศ และทุกวัย เสี่ยงอันตรายถึงชีวิต

ความดันโลหิตต่ำ

ดังนั้นการตรวจเช็กสุขภาพประจำปีถือเป็นสิ่งสำคัญ และเมื่อมีสัญญาณผิดปติ ควรเข้าพบแพทย์ทันทีเพื่อเข้ารับการรักษาที่ตรงจุด

ภาวะความดันโลหิตต่ำคืออะไร

ดันโลหิตต่ำ คือ ภาวะที่ความดันโลหิตในหลอดเลือดแดงต่ำกว่าปกติ หรือต่ำกว่า 90/60 มิลลิเมตรปรอท โดยภาวะความดันโลหิตต่ำสามารถเกิดได้กับทุกช่วงอายุ ซึ่งมีหลายสาเหตุที่สามารถนำไปสู่ภาวะความดันต่ำได้

สาเหตุของการเกิดภาวะความดันต่ำ

– สาเหตุส่วนใหญ่ของภาวะความดันโลหิตต่ำ คือ ภาวะขาดสารอาหาร โดนเฉพาะโปรตีน วิตามินซี วิตามินบี จึงทำให้เนื้อเยื่อรอบๆ ผนังหลอดเลือดแดงไม่แข็งแรงและคลายตัวมากเกินไป

– เกิดจากการสูญเสียโลหิตแบบกะทันหัน เช่น อุบัติเหตุ หรือการสูญเสียโลหิตแบบเรื้อรัง เช่น บาดแผลในกระเพาะอาหาร ลำไส้ หรือไต

– การลุกนั่งกะทันหัน หรือก้มเงยศีรษะอย่างรวดเร็ว ทำให้ความดันที่จะไปเลี้ยงสมองลดลงอย่างรวดเร็ว

– มีการใช้ยาเช่น ยาความดันโลหิต ยาขับปัสสาวะ หรือยากล่อมประสาท

– มีโรคประจำตัว หรืออยู่ในภาวะที่ความดันร่างกายผิดปกติ เช่น ตั้งครรภ์ โรคโลหิตจาง โรคหัวใจ โรคพาร์กินสัน

– ภาวะขาดน้ำ เช่น อาเจียน ท้องเสีย

อาการของความดันโลหิตต่ำ

– คลื่นไส้ วิงเวียนศีรษะ หน้ามืด เป็นลม

– ตาพร่า มองเห็นภาพไม่ชัด

– ใจสั่น ใจเต้นแรงไม่สม่ำเสมอ

– อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย

– หายใจลำบาก แน่นหน้าอก

– กระหายน้ำ ปัสสาวะน้อย

– มือเท้าเย็น ผิวซีด หนาวสั่น

– ระบบย่อยอาหารผิดปกติ

ค่าความดันโลหิตเท่าไหร่ถึงเรียกว่าสูง

ค่าความดันโลหิตแบ่งออกเป็น 2 ค่า คือ ค่าความดันโลหิตตัวบน (Systolic Blood Pressure) คือค่าความดันโลหิตในหลอดเลือดที่เกิดขึ้นขณะที่หัวใจบีบตัว และค่าความดันโลหิตตัวล่าง (Diastolic Blood Pressure) คือค่าความดันของเลือดที่ขณะที่หัวใจคลายตัว

โดยในประเทศไทยกำหนดค่าความดันโลหิตปกติคือค่าความดันโลหิตตัวบนไม่เกิน 140 และตัวล่างไม่เกิน 90 มิลลิเมตรปรอท โดยค่าความดันโลหิตสูงแบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ

ระดับที่ 1 ตัวบนเกิน 140 มม.ปรอท หรือตัวล่างเกิน 90 มม.ปรอท

ระดับที่ 2 ตัวบนเกิน 160 มม.ปรอท หรือตัวล่างเกิน 100 มม.ปรอท

ระดับที่ 3 ตัวบนเกิน 180 มม.ปรอท หรือตัวล่างเกิน 110 มม.ปรอท

ทั้งนี้ การวัดค่าความดันโลหิตเพียงครั้งเดียวยังไม่สามารถสรุปได้ว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูง จำเป็นต้องวัดซ้ำ 2 – 3 ครั้ง และตรวจติดตามเป็นระยะเพราะค่าความดันโลหิตเป็นตัวเลขที่มีปัจจัยหลายอย่างมากระทบได้ง่าย เช่น ความเหนื่อย ความเครียดหรือกังวล เป็นต้น

การดูแลตัวเองสำหรับผู้ที่เป็นโรคความดันต่ำ

– หลีกเลี่ยงการยืนเป็นเวลานาน ถ้าจำเป็นให้ใส่ถุงน่อง เพื่อลดการแช่ค้างของเลือด

– ยืดเส้นยืดสายเบา ๆ ทุกเช้า เพื่อให้เลือดสูบฉีดได้ดีขึ้น

– ดื่มน้ำเปล่าสะอาดให้เพียงพอ วันละ 8 – 10 แก้ว

– กินยาต่าง ๆ ให้ถูกต้อง ตามคำสั่งแพทย์อย่างสม่ำเสมอ

– กินอาหารแต่ละมื้อ ไม่ให้อิ่มเกินไป

– เปลี่ยนท่าทางต่าง ๆ ให้ช้าลง

สรุป ความดันโลหิตต่ำ คือ ภาวะที่มีความดันโลหิตต่ำกว่า 90/60 (mm/Hg) ในผู้ใหญ่ และในผู้สูงอายุมีค่าความดันต่ำกว่า 100/70 (mm/Hg) มักจะพบในผู้ที่มีสุขภาพร่างกายอ่อนแอ ผู้สูงอายุหรือผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคความดันโลหิตต่ำ

ที่มา

bpksamutprakan.com

vejthani.com

ติดตามเรื่องราวดีๆได้ที่ delphiabc.com