Health

  • อาการและสัญญาณเสี่ยง ความดันโลหิตต่ำ
    อาการและสัญญาณเสี่ยง ความดันโลหิตต่ำ

    ความดันโลหิตต่ำ เป็นภัยต่อสุขภาพที่ใครหลายๆ คนอาจมองข้าม ซึ่งผู้ที่มีความดันโลหิตต่ำ มักจะคิดว่าไม่มีปัญหาใด แต่ในความจริงแล้วทั้งความดันโลหิตสูงและความดันโลหิตต่ำ ต่างมีความเสี่ยงต่อโรคแทรกซ้อน

    ภาวะความดันโลหิตต่ำ มักไม่มีสัญญาณเตือน และสามารถเกิดขึ้นได้ในทุกเพศ และทุกวัย เสี่ยงอันตรายถึงชีวิต

    ความดันโลหิตต่ำ

    ดังนั้นการตรวจเช็กสุขภาพประจำปีถือเป็นสิ่งสำคัญ และเมื่อมีสัญญาณผิดปติ ควรเข้าพบแพทย์ทันทีเพื่อเข้ารับการรักษาที่ตรงจุด

    ภาวะความดันโลหิตต่ำคืออะไร

    ดันโลหิตต่ำ คือ ภาวะที่ความดันโลหิตในหลอดเลือดแดงต่ำกว่าปกติ หรือต่ำกว่า 90/60 มิลลิเมตรปรอท โดยภาวะความดันโลหิตต่ำสามารถเกิดได้กับทุกช่วงอายุ ซึ่งมีหลายสาเหตุที่สามารถนำไปสู่ภาวะความดันต่ำได้

    สาเหตุของการเกิดภาวะความดันต่ำ

    – สาเหตุส่วนใหญ่ของภาวะความดันโลหิตต่ำ คือ ภาวะขาดสารอาหาร โดนเฉพาะโปรตีน วิตามินซี วิตามินบี จึงทำให้เนื้อเยื่อรอบๆ ผนังหลอดเลือดแดงไม่แข็งแรงและคลายตัวมากเกินไป

    – เกิดจากการสูญเสียโลหิตแบบกะทันหัน เช่น อุบัติเหตุ หรือการสูญเสียโลหิตแบบเรื้อรัง เช่น บาดแผลในกระเพาะอาหาร ลำไส้ หรือไต

    – การลุกนั่งกะทันหัน หรือก้มเงยศีรษะอย่างรวดเร็ว ทำให้ความดันที่จะไปเลี้ยงสมองลดลงอย่างรวดเร็ว

    – มีการใช้ยาเช่น ยาความดันโลหิต ยาขับปัสสาวะ หรือยากล่อมประสาท

    – มีโรคประจำตัว หรืออยู่ในภาวะที่ความดันร่างกายผิดปกติ เช่น ตั้งครรภ์ โรคโลหิตจาง โรคหัวใจ โรคพาร์กินสัน

    – ภาวะขาดน้ำ เช่น อาเจียน ท้องเสีย

    อาการของความดันโลหิตต่ำ

    – คลื่นไส้ วิงเวียนศีรษะ หน้ามืด เป็นลม

    – ตาพร่า มองเห็นภาพไม่ชัด

    – ใจสั่น ใจเต้นแรงไม่สม่ำเสมอ

    – อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย

    – หายใจลำบาก แน่นหน้าอก

    – กระหายน้ำ ปัสสาวะน้อย

    – มือเท้าเย็น ผิวซีด หนาวสั่น

    – ระบบย่อยอาหารผิดปกติ

    ค่าความดันโลหิตเท่าไหร่ถึงเรียกว่าสูง

    ค่าความดันโลหิตแบ่งออกเป็น 2 ค่า คือ ค่าความดันโลหิตตัวบน (Systolic Blood Pressure) คือค่าความดันโลหิตในหลอดเลือดที่เกิดขึ้นขณะที่หัวใจบีบตัว และค่าความดันโลหิตตัวล่าง (Diastolic Blood Pressure) คือค่าความดันของเลือดที่ขณะที่หัวใจคลายตัว

    โดยในประเทศไทยกำหนดค่าความดันโลหิตปกติคือค่าความดันโลหิตตัวบนไม่เกิน 140 และตัวล่างไม่เกิน 90 มิลลิเมตรปรอท โดยค่าความดันโลหิตสูงแบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ

    ระดับที่ 1 ตัวบนเกิน 140 มม.ปรอท หรือตัวล่างเกิน 90 มม.ปรอท

    ระดับที่ 2 ตัวบนเกิน 160 มม.ปรอท หรือตัวล่างเกิน 100 มม.ปรอท

    ระดับที่ 3 ตัวบนเกิน 180 มม.ปรอท หรือตัวล่างเกิน 110 มม.ปรอท

    ทั้งนี้ การวัดค่าความดันโลหิตเพียงครั้งเดียวยังไม่สามารถสรุปได้ว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูง จำเป็นต้องวัดซ้ำ 2 – 3 ครั้ง และตรวจติดตามเป็นระยะเพราะค่าความดันโลหิตเป็นตัวเลขที่มีปัจจัยหลายอย่างมากระทบได้ง่าย เช่น ความเหนื่อย ความเครียดหรือกังวล เป็นต้น

    การดูแลตัวเองสำหรับผู้ที่เป็นโรคความดันต่ำ

    – หลีกเลี่ยงการยืนเป็นเวลานาน ถ้าจำเป็นให้ใส่ถุงน่อง เพื่อลดการแช่ค้างของเลือด

    – ยืดเส้นยืดสายเบา ๆ ทุกเช้า เพื่อให้เลือดสูบฉีดได้ดีขึ้น

    – ดื่มน้ำเปล่าสะอาดให้เพียงพอ วันละ 8 – 10 แก้ว

    – กินยาต่าง ๆ ให้ถูกต้อง ตามคำสั่งแพทย์อย่างสม่ำเสมอ

    – กินอาหารแต่ละมื้อ ไม่ให้อิ่มเกินไป

    – เปลี่ยนท่าทางต่าง ๆ ให้ช้าลง

    สรุป ความดันโลหิตต่ำ คือ ภาวะที่มีความดันโลหิตต่ำกว่า 90/60 (mm/Hg) ในผู้ใหญ่ และในผู้สูงอายุมีค่าความดันต่ำกว่า 100/70 (mm/Hg) มักจะพบในผู้ที่มีสุขภาพร่างกายอ่อนแอ ผู้สูงอายุหรือผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคความดันโลหิตต่ำ

    ที่มา

    bpksamutprakan.com

    vejthani.com

    ติดตามเรื่องราวดีๆได้ที่ delphiabc.com

     

Economy

  • ตรวจสอบสถานะบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 2566
    ตรวจสอบสถานะบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 2566

    ตรวจสอบสถานะบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 2566 เปิดให้เช็กสิทธิแล้ว ขั้นตอนไม่ยุ่งยาก

    บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 2566 เปิดให้ผู้ลงทะเบียนเช็กสิทธิแล้ว วิธีตรวจสอบสถานะไม่ยุ่งยาก พร้อมแนะขั้นตอนสำหรับ “ผู้ผ่านเกณฑ์” และ “ผู้ไม่ผ่านเกณฑ์” ต้องทำยังไงต่อไป

    นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เผยว่า ตามที่กระทรวงการคลังได้ส่งข้อมูลผู้ลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ (โครงการฯ) ปี 2565 ที่มีสถานะการลงทะเบียนสมบูรณ์ให้หน่วยงานตรวจสอบคุณสมบัติที่เกี่ยวข้องตรวจสอบคุณสมบัตินั้น บัดนี้ การดำเนินการในขั้นตอนดังกล่าวเสร็จเรียบร้อยแล้ว และคณะกรรมการประชารัฐสวัสดิการเพื่อเศรษฐกิจฐานรากและสังคม (คณะกรรมการฯ) ในฐานะหน่วยงานที่รับผิดชอบหลักในโครงการฯ ได้กำหนดวันประกาศผลการพิจารณาคุณสมบัติโครงการฯ ปี 2565 ในวันที่ 1 มี.ค. 2566

    ซึ่งผู้ลงทะเบียนที่มีสถานะการลงทะเบียนสมบูรณ์สามารถตรวจสอบผลการพิจารณาคุณสมบัติได้ 3 ช่องทาง ดังนี้

    1. ผู้ลงทะเบียนสามารถตรวจสอบผลการพิจารณาคุณสมบัติด้วยตนเอง ผ่านทางเว็บไซต์ https://บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ.mof.go.th หรือ https://welfare.mof.go.th ได้ตั้งแต่เวลา 06.00 น. ถึง 23.00 น. ของทุกวัน
    2. ผู้ลงทะเบียนสามารถตรวจสอบผลการพิจารณาคุณสมบัติผ่านหน่วยงานรับลงทะเบียนทั้ง 7 หน่วยงาน ได้แก่ สาขาของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ธนาคารออมสิน ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) (ธนาคารกรุงไทยฯ) สำนักงานคลังจังหวัดทั้ง 76 จังหวัดทั่วประเทศ สังกัดกรมบัญชีกลาง ที่ว่าการอำเภอทั้ง 878 อำเภอทั่วประเทศ ภายใต้กระทรวงมหาดไทย สำนักงานเขตกรุงเทพมหานคร ทั้ง 50 เขต และศาลาว่าการเมืองพัทยา เมืองพัทยา ตามวันและเวลาทำการของแต่ละหน่วยงานสำหรับการตรวจสอบผลการพิจารณาคุณสมบัติในช่วงวันหยุดเสาร์ – อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ให้ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของหน่วยงานรับลงทะเบียนแต่ละแห่ง

    3. โทรศัพท์สอบถามได้ที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง และ Call Center โครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ วันจันทร์ – วันศุกร์ ตามเวลาทำการของแต่ละหน่วยงาน

    ตรวจสอบสถานะบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 2566 เปิดให้เช็กสิทธิแล้ว ขั้นตอนไม่ยุ่งยาก
    ขอบคุณรูปภาพจาก : thairath.co.th

    สำหรับผู้ที่ “ผ่านเกณฑ์” บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ

    1. ผู้ลงทะเบียนที่ตรวจสอบผลการพิจารณาคุณสมบัติตามโครงการฯ ปี 2565 แล้ว พบว่า เป็นผู้ที่ผ่านเกณฑ์การพิจารณาคุณสมบัติตามโครงการฯ ปี 2565 ต้องยืนยันตัวตน ณ ธนาคารกรุงไทยฯ ธนาคารออมสิน และ ธ.ก.ส. โดยสามารถยืนยันตัวตนได้ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2566 เป็นต้นไป ทั้งนี้ จะต้องนำบัตรประจำตัวประชาชนอเนกประสงค์ (Smart Card) เพื่อใช้ในการยืนยันตัวตนด้วย ณ ธนาคารดังกล่าวตามวันและเวลาทำการของแต่ละธนาคาร

    2. เมื่อยืนยันตัวตนเสร็จเรียบร้อยแล้วจะสามารถตรวจสอบสถานะการยืนยันตัวตนของตนเองผ่านทางเว็บไซต์ https://บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ.mof.go.th หรือ https://welfare.mof.go.th ในวันถัดไป หรือติดต่อสอบถามเจ้าหน้าที่หน่วยงานรับลงทะเบียนทั้ง 7 หน่วยงาน หรือโทรศัพท์สอบถามได้ที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

    3. ธ.ก.ส. และธนาคารออมสินจะให้บริการยืนยันตัวตนเป็นเวลา 180 วันนับจากวันที่ประกาศผลการพิจารณาคุณสมบัติ (วันที่ 1 มีนาคม – 27 สิงหาคม 2566) และธนาคารกรุงไทยฯ จะให้บริการยืนยันตัวตน โดยยังไม่มีกำหนดวันสิ้นสุดการให้บริการ สำหรับการยืนยันตัวตนในช่วงวันหยุดเสาร์ – อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ให้ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของแต่ละธนาคาร

    4. ผู้ลงทะเบียนที่ผ่านเกณฑ์การพิจารณาคุณสมบัติดำเนินการผูกบัญชีพร้อมเพย์กับหมายเลขประจำตัวประชาชนเพื่อรับสิทธิสวัสดิการ โดยสามารถผูกบัญชีพร้อมเพย์กับธนาคารใดก็ได้ ทั้งนี้ การผูกบัญชีพร้อมเพย์ไว้ล่วงหน้า จะทำให้ผู้ได้รับสิทธิสะดวกในการรับสิทธิสวัสดิการหากกรณีที่ภาครัฐมีสวัสดิการที่จะโอนเข้าบัญชีในอนาคต

    ทั้งนี้ หากพบว่าสถานะการยืนยันตัวตนสมบูรณ์ ผู้ผ่านเกณฑ์การพิจารณาคุณสมบัติจึงจะสามารถใช้สิทธิสวัสดิการผ่านบัตรประจำตัวประชาชนได้ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2566 ในกรณีที่ผู้ผ่านการพิจารณาคุณสมบัติที่ยืนยันตัวตนสำเร็จตั้งแต่วันที่ 1 – 26 มีนาคม 2566 และในกรณีผู้ผ่านการพิจารณาคุณสมบัติที่ยืนยันตัวตนหลังวันที่ 26 มีนาคม 2566 จะได้ใช้สิทธิสวัสดิการแห่งรัฐตามที่กระทรวงการคลังกำหนด สำหรับผู้ได้รับสิทธิสวัสดิการแห่งรัฐในปัจจุบัน จะสามารถใช้สิทธิสวัสดิการแห่งรัฐได้จนถึงสิ้นเดือนมีนาคม 2566 เท่านั้น

    สำหรับผู้ที่ “ไม่ผ่านเกณฑ์” บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ

    สำหรับผู้ลงทะเบียนที่ตรวจสอบผลการพิจารณาคุณสมบัติตามโครงการฯ ปี 2565 แล้ว พบว่า ไม่ผ่านเกณฑ์การพิจารณาคุณสมบัติตามโครงการฯ ปี 2565 ผู้ลงทะเบียนสามารถยื่นขออุทธรณ์ผลการพิจารณาคุณสมบัติได้ตั้งแต่วันที่ 1 มี.ค. – 1 พ.ค. 2566 ผ่าน 2 ช่องทาง ได้แก่

    1. ขออุทธรณ์ผลการพิจารณาคุณสมบัติด้วยตนเองผ่านทางเว็บไซต์ https://บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ.mof.go.th หรือ https://welfare.mof.go.th ได้ตั้งแต่เวลา 06.00 น. ถึง 23.00 น. ของทุกวัน

    2. ขออุทธรณ์ผลการพิจารณาคุณสมบัติผ่านหน่วยงานรับลงทะเบียนทั้ง 7 หน่วยงาน ได้แก่ ธนาคารออมสิน ธนาคารกรุงไทยฯ ธ.ก.ส. สำนักงานคลังจังหวัดทุกจังหวัด ที่ว่าการอำเภอทุกอำเภอ สำนักงานเขตกรุงเทพมหานคร และศาลาว่าการเมืองพัทยา ตามวันและเวลาทำการของแต่ละหน่วยงาน โดยให้เจ้าหน้าที่หน่วยงานรับลงทะเบียนเป็นผู้ดำเนินการยื่นอุทธรณ์ผลการพิจารณาคุณสมบัติ โดยผู้ไม่ผ่านการพิจารณาคุณสมบัติจะต้องแสดงบัตรประจำตัวประชาชนกับเจ้าหน้าที่หน่วยงานรับลงทะเบียนก่อนดำเนินการยื่นอุทธรณ์

    ทั้งนี้ หลังจากผู้ไม่ผ่านเกณฑ์การพิจารณาคุณสมบัติดำเนินการยืนยันการขออุทธรณ์ตามขั้นตอนเรียบร้อยแล้ว จะต้องดำเนินการขอตรวจสอบและแก้ไขข้อมูลที่หน่วยงานตรวจสอบคุณสมบัติที่ผู้ลงทะเบียนไม่ผ่านเกณฑ์การพิจารณาด้วยตนเอง หรือเป็นไปตามเงื่อนไขที่หน่วยงานตรวจสอบคุณสมบัติกำหนด เพื่อขอปรับปรุงหรือแก้ไขข้อมูลในกรณีที่ข้อมูลไม่ถูกต้องให้ถูกต้อง โดยจะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 1 พ.ค. 2566.

     

    ขอบคุณแหล่งที่มา : thairath.co.th

    สามารถอัพเดตข่าวสารเรื่องราวต่างๆได้ที่ : delphiabc.com